ประวัติวัดโสธรวรารามวรวิหาร
ประวัติและความเป็นมา
ตั้ง อยู่ที่ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร บนเนื้อที่ 21 ไร่ 42 ตารางวา วัดโสธรฯ นี้ เดิมมีชื่อว่า “วัดหงส์” เนื่องจากมีเสาหงส์อยู่ในวัด เสาหงส์มีลักษณะเป็นเสาสูง ปลายเสาเป็นรูปหงส์ตั้งอยู่ เล่ากันว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายโดยฝีมือชาวมอญ เนื่องจากมีเสาหงส์ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะของชาวมอญปรากฏอยู่
ต่อมาพายุใหญ่ได้พัดเอาตัวหงส์ที่อยู่บนยอดเสาหักพังลงมาเหลือแต่เสา ชาวบ้านจึงได้นำผ่าขึ้นไปผูกแทน นานเข้าผู้คนได้พากันเรียกชื่อตามภาพที่เห็นว่า “วัดเสาธง” หลังเวลาผ่านไปอีกช่วง เสาหงส์หรือเสาธงซึ่งถูกแดดลมกัดกร่อนเป็นเวาลานานเมื่อถูกพายุจึงหักลงมา เป็นสองท่อน ชาวบ้านเลยพากันเรียกชื่อวัดว่า “วัดเสาธงทอน” ตามลักษณะการหักเป็นสองท่อนของเสาหงส์หรือเสาธง
เรื่องเล่ายังมีต่อไปอีกว่า ครั้งหนึ่งได้มีพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ 3 พี่น้องลอยตามแม่น้ำปิงมาจากทางเหนือแล้วลัดเข้าคลองมาทางพระโขนง ก่อนออกสู่แม่น้ำบางปะกงได้แสดงอภินิหารโผล่พ้นน้ำให้ชาวบ้านเห็น ชาวบ้านได้ช่วยกันชักลากขึ้นจากน้ำแต่ไม่สำเร็จ ภายหลังจึงได้เรียกชื่อคลองนี้ว่า “คลองชักพระ”
แล้ว ได้ลอยทวนน้ำขึ้นไปจนถึงวัดสัมปทวนในปัจจุบัน เมื่อถึงบริเวณดังกล่าวได้แสดงอภินิหารลอยขึ้นเหนือน้ำให้ชาวบ้านเห็นอีก ชาวบ้านได้พากันเอาเชือกพรวนไปผูกพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ไว้ เพื่อจะฉุดลากขึ้นแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ชาวบ้านจึงพากันเรียกวัดนี้ว่า “วัดสามพระทวน” ภายหลังเพี้ยนเป็น “สัมปทวน”จาก นั้นพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ได้ลอยย้อนกลับลงมาตามกระแสน้ำผ่านหน้าวัดโสธรฯ ไปแสดงอภินิหารให้ชาวบ้านเห็นอีกครั้งบริเวณคุ้งน้ำใต้วัด ชาวบ้านพากันฉุดขึ้นจากน้ำแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ชาวบ้านจึงพากันเรียกชื่อหมู่บ้านและคลองบริเวณนั้นว่า “บางพระ” จากนั้นได้ลอยทวนน้ำวนอยู่หัวเลี้ยวตรงกองพันทหารช่างที่ 2 จนเป็นที่มาของชื่อว่า “แหลมหัววน” และ “คลองสองพี่น้อง”ต่อมาพระพุทธรูปองค์พี่ใหญ่ได้แสดงอภินิหารลอยเข้าไปตามลำแม่น้ำแม่กลอง แล้วไปผุดขึ้นที่บริเวณบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ชาวบ้านได้อัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดบ้านแหลม ได้ชื่อว่า “หลวงพ่อบ้านแหลม” ส่วนพระน้ององค์เล็กได้ลอยตามน้ำล่องไปตามคลองบางพลี และผุดขึ้นที่คลองใกล้วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ชาวบ้านได้อัญเชิญขึ้นไว้ที่วัดบางพลี มีชื่อว่า “หลวงพ่อโตบางพลี”
สำหรับ องค์กลางมาผุดขึ้นที่หน้าวัด หงส์หรือวัดเสาธงทอน ชาวบ้านได้นำเชื่อกมาผูกเพื่อจะชักลากขึ้นฝั่งแต่ไม่สำเร็จที่สุดได้มีผู้ รู้ทางไสยศาสตร์ท่านหนึ่งได้ร่วกับชาวบ้านทำที่ตั้งศาลเพียงตากระทำพิธีบวง สรวงแล้วเอาด้ายสายสิญจน์คล้องไว้กับพระหัตถ์ จึงอัญเชิญขึ้นมาได้สำเร็จ และนำมาประดิษฐานไว้ที่อุโบสถของวัด วันที่อัญเชิญขึ้นมาตรงกับวันที่ 14 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในราว พ.ศ. 2313 ซึ่งเป็นช่วงต้นกรุงธนบุรี ต่อมาชาวบ้านได้ร่วมใจกันถวายนามว่า “พระโสทร” มีความหมายว่าพี่น้องร่วมอุทร ซึ่งหมายถึงพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ที่ลอยตามน้ำมาด้วยกันโดยประดิษฐานอยู่ ณ วัดนี้คือหนึ่งในสามองค์นั้น
จากนั้นชาวบ้านได้พากันเรียกชื่อวัดตามชื่อหลวงพ่อ “วัดโสทร” และเลยเรียกรวมไปถึงชื่อหมู่บ้านและคลองที่อยู่ในละแวกเดียวกับวัดนั้นด้วย
ล่วงมาถึงรัชกาลที่6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คำว่า “โสทร” ได้เปลี่ยนไปเขียนใหม่ใหม่เป็น “โสธร” แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้เปลี่ยนสำหรับชื่อ “โสธร” ที่เขียนใหม่นี้มีความหมายว่า “บริสุทธิ์” หรือ”ศักดิ์สิทธิ์” สำหรับเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อจาก “หลวงพ่อพุทธโสทร” มาเป็น “หลวงพ่อพุทธโสธร” ก็คงเป็นด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อที่ประชาชนทั่วไปต่างเคารพนับถือมา แต่โบราณกาลแล้ว นอกจากนี้พุทธลักษณะอันงดงามของหลวงพ่อเองก็เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เปลี่ยน อักษรเขียนชื่อใหม่ดังกล่าว
พระ พุทธโสธรเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 165 เซนติเมตร สูง 198 เซนติเมตร ประทับอยู่เหนือบัลลังก์ 4 ชั้น ปูลาดด้วยผ้าทิพย์ ซึ่งหมายถึงการอยู่สูงสุด เป็นพุทธเหนืออริยบุคคล 4 คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
ตามประวัติเล่าว่า เดิมเป็นพระพุทธธูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ปางสมาธิ หน้าตักกว้างศอกเศษ รูปทรงสวยงาม ภายหลังพระสงฆ์ภายในวัดเห็นความงดงามนี้จะเป็นอันตรายต่อองค์พระเอง จึงได้ช่วยกันนำปูนมาพอกเสริมปั้นหุ้มองค์เดิมไว้ พระพุทธโสธรที่เห็นในปัจจุบันจึงเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทอง พระพักตร์แบบศิปะล้านนา พระเกตุมาลาแบบปลี ความกว้างของพระเพลา 3 ศอก 5 นิ้ว หรือ 1 เมตร 65 เซนติเมตร สูง 1 เมตร 98 เซนติเมตร
นอกจากนี้ ทางวัดและทางจังหวัดฉะเชิงเทรายังได้ร่วมกันจัดสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ สำหรับเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโสธรขึ้น โดยเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาทรงวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างพระอุโบสถ จากนั้นได้ดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมาจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 พระอุโบสถหลังใหม่นี้มีลักษณทรงไทยประยุกต์ กว้าง 44.50 เมตร ยาว 123.50 เมตร ลักษณะเป็นอาคารหลังคาประกอบเครื่อยอด ชนิดยอดทรงมณฑปแบบไทย ต่อเชื่อมด้วยวิหารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านข้างต่อเชื่อมด้วยอาคารรูปทรงอย่างเดียวกันกับพระวิหาร เป็นอาคารจัตุรมุข ซึ่งเมื่อประกอบเข้าด้วยกันแล้วจะเป็นหลังคาแบบจัตุรมุขอย่างอาคารปราสาทแบบ ไทย กำแพงปุด้วยหินอ่อนจากเมืองคาร์ราร่า ประเทศอิตาลี จัดเป็นพระอุโบสถที่งดงามมาก และมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
สำหรับพรัอุโบสถหลังใหม่นี้ ชาวจังหวัดฉะเชิงเทราสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อสนับสนุนพระศาสนาซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชนและเพื่อ ร่วมเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนภิเษกถวายเป็นพระราชกุศล โดยร่วมกันทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระอุโบสถประจำรัชกาลที่ 9 สือต่อไป
ศิลปกรรมบนพื้นแกรนิตภาพมหาสมุทร
ใน ส่วนพระอุโบสถ ที่ประดิษฐานพระพุทธโสธรองค์จริง พระประธาน และพระพุทธรูปอื่นรวม 18 องค์ ประดิษฐานในดอกบัว ลายล้อมด้วยศิลปกรรมบน พื้นแกรนิตภาพมหาสมุทร แสดงถึงตำนานหลวงพ่อโสธรที่ลอยน้ำมายังบริเวณนี้ มีปลาขนาดใหญ่ประจำเมืองแปดริ้ว 5 ตัว ว่ายวนอัญเชิญดอกบัว รอบๆ มีสัตว์น้ำนานาชนิด ทั้งกุ้ง หอย
ปู ปลา คาบดอกบัวมาสักการะหลวงพ่อ ลวดลายบนภาพพื้นพระอุโบสถ มีความสมจริงดั่งพื้นน้ำ ด้วยฝีมือช่างผู้ชำนาญ ที่สามารถแกะสลักหินแกรนิตหลากสี จากต้นแบบของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ และคณะให้เป็นลวดลายสมจริงเช่นนี้ ทั้งหมดที่ท่านเห็นบนพื้นพระอุโบสถ ทำจากหินแกรนิตแกะสลักสลับสีซ้อนกันหลายชิ้นมีความพิถีพิถันในการให้สี มีความใส่ใจในรายละเอียด ทำให้ได้ภาพเขียนศิลปกรรมขนาดใหญ่จากแกรนิตที่สวยงาม แห่งเดียวในโลก |
จิตรกรรมภาพดวงดาวบนเพดานพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารจิตรกรรม ภาพดวงดาวบนเพดานพระอุโบสถ ท้องฟ้าสีดำประดับด้วยดวงดาวมากมาย เป็นฝีมือของจิตรกรเอกหลายท่านของเมืองไทย นำโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดำ ศิลปินแห่งชาติพร้อมคณะที่ร่วมกันสรรค์สร้างเป็นภาพสีน้ำมันบนวัสดุเคลือบ ด้วยน้ำยาชนิดพิเศษที่ให้ความคงทน และรักษาสีไม่ให้ซีดจาง เมื่อแหงนหน้ามองขึ้นไป จะรู้สึกเหมือนกับว่าภาพบนเพดานแบนราบ แท้จริงแล้วกลับเป็นเพดาน ทรงโดมโค้ง ภาพนี้แสดงตำแหน่งของดวงดาวใน วัน เวลา นาที ที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินยกยอดฉัตรพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร
งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร
หลวง พ่อโสธร เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง มีอภินิหาร มีประชาชน พุทธบริษัทและเทศพากันหลั่งไหลไปนมัสการทุกวันไม่ขาด ถ้าเป็นวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดอื่นๆ ประชาชนยิ่งพากันไปมากกว่าวันธรรมดายิ่งในวันเทศกาลด้วยแล้ว ประชาชนพากันหลั่งไหลไปนับจำนวนแสน งานปีของหลวงพ่อโสธรนั้นมีปีละ 3 ครั้ง ตามลำดับ ดังนี้
1. ครั้งแรก งานวันเกิดหลวงพ่อโสธร คือ กลางเดือน 5 มีงาน 3 วัน 3 คืน
2. ครั้งที่ 2 งานกลางเดือน 12 มีงาน 5 วัน 5 คืน
3. ครั้งที่ 3 งานตรุษจีน มี 5 วัน 5 คืน งานนมัสการหลวงพ่อครั้งแรกนั้น ตามตำนานกล่าวว่า ประชาชนพากันอาราธนาหลวงพ่อขึ้นจากแม่น้ำ แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานในพระอุโบสถ จึงมีงานสมโภชถวาย ต่อแต่นั้นมาก็มีถวายหลวงพ่อเป็นประจำมาถึงทุกวันนี้ งานนี้เริ่มแต่วันขึ้น 14 -15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวม 3 วัน 3 คืน มีมหรสพสมโภชตลอดงาน ถือกันว่าเป็นงาน วันเกิดของหลวงพ่อ
งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อกลางเดือน 12 นั้น เริ่มมีตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12 วันนี้เป็นวันทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์เปิดงาน และปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังของหลวงพ่อ เสร็จแล้วทำพิธีเปิดงานในวันรุ่งขึ้น คือ วันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวม 5 วัน 5 คืน งานกลางเดือน 12 นี้
มีการแห่หลวงพ่อไปทางบกและ ทางน้ำ พร้อมทั้งมีการแข่งเรือทุกชนิดและมีงานสนุกสนานมาก
ตลอดจนถึงศาลากลางจังหวัด
สำหรับการจัดงานนมัสการพระพุทธโสธร ประจำปี 2551 จะแยกเป็น 2 ส่วน
ส่วน ที่ 1 คือ งานนมัสการพระพุทธโสธร เริ่มตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 จัดขึ้น บริเวณวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ส่วนที่2 คือ งานนมัสการพระพุทธโสธร และงานกาชาด ประจำปี 2551 เริ่มตั้งแต่ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2551 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 จัดขึ้น ณ บริเวณหน้า ศาลากลางจังหวัด อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การนมัสการหลวงพ่อพระพุทธโสธร พิธีเปิด ขบวนแห่ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา มีการแห่หลวงพ่อไปทางบกและทางน้ำ มีการแข่งขันกีฬาทางน้ำ การออกร้านกาชาด นิทรรศการของราชการและภาคเอกชน ตลอดทั้งสินค้าราคาถูกมากมาย จากบริษัทห้างร้าน โรงงาน
....................วัดโสธรวรารามวรวิหาร
ออกแบบโบสถ์วัด โดย อาจารย์ ประเวศ ลิมประรังศรี
โบสถ์วัดมีทั้งหมด ๙ ชั้น เเต่ที่ใช้งานใช้เเค่ ๕ ชั้น นะค่ะ
ชั้นที่ ๑ กับ ชั้นที่ ๒ เป็นที่ประดิษฐ์ องค์หลวงพ่อโสธร
ชั้นที่ ๓ กับ ชั้นที่ ๔ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎก
ชั้นที่ ๕ เป็นที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุ
บริเวณยอดสุดของโบสถ์วัด เป็นฉัตร ๕ ชั้น
ทองคำ
มีน้ำหนักประมาณ ๗๗ กิโลกรัม
มูลค่ามากกว่า ๔๔ ล้านบาท
เป็นโบสถ๋หินอ่อน หินนำเข้ามาจากอิตาลี ชื่อหินไวคาราร่า เป็นหินเนื้ออ่อนที่ดีที่สุดในโลก
มูลค่าโดยรวม ของวัดโสธรวรารามวรวิหาร ประมาณมากกว่า ๒000 ล้านบาท
บทความข้างต้น เรา นางสาวฉัตรกมล มงคล เอาไว้พูดนำทัวร์ เเกู่้ชม ไม่ว่าจะเป็นอาจารน์ นักเรียน ที่มาชม อาคาร พิพิธภัณฑ์ (แค่ที่ย่อ หน้าเล็กๆๆนั้นนะค่ะ)